โครงการประกวดแนวคิดเพื่อความยั่งยืน CHOICEISYOURS 2024

โครงการ CHOICEISYOURS ริเริ่มโดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการต่อยอดแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายหลักในการพยายามรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) และส่งเสริมแนวคิดด้านความยั่งยืน ผ่านการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2565 ภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำระดับโลกและประเทศอีกสามองค์กร ได้แก่ มูลนิธิชัยพัฒนา ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และเอสซีจี เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้นิสิต
นักศึกษาไทยได้แสดงศักยภาพการออกแบบแนวคิดด้านความยั่งยืนที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สิ่งแวดล้อมและสังคมในโครงการ CHOICEISYOURS

อ่านเพิ่มเติม

ในปี 2567 โครงการ CHOICEISYOURS ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมีพาร์ทเนอร์ในโครงการรวมทั้งหมด 7 องค์กร ได้แก่ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย มูลนิธิชัยพัฒนา เซ็นทรัล กรุ๊ป ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เอสซีจี โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ และบางจาก คอร์ปอเรชั่น พร้อมรับสมัครทีมนิสิต นักศึกษาไม่จำกัดคณะหรือชั้นปี โดยมีหัวข้อหลักในการแข่งขัน คือ หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดหลัก 4 หัวข้อ ได้แก่ REduce, REuse, REthink และ REcycle โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรพาร์ทเนอร์ร่วมเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้าแข่งขัน พร้อมจัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะตลอดโครงการ

อ่านเพิ่มเติม

ระหว่างการเข้าร่วมโครงการ ทีมผู้เข้าแข่งขันจะได้เข้าร่วมเวิร์คช็อปพร้อมปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน และทัศนศึกษาไปยังโรงงาน สถานที่ดำเนินกิจการ และชุมชนตัวอย่างด้านความยั่งยืนต่าง ๆ ที่จัดโดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย และพาร์ทเนอร์ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำความรู้ที่ได้ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ไปต่อยอดโครงการของตนเอง และแสดงถึงความสามารถในการนำแนวคิดเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ ทดลอง ก่อนที่จะนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการตัดสินในรอบชิงชนะเลิศ โดยทีมที่ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่ม จะได้รับโอกาสเข้าร่วมฝึกงานกับองค์กรพาร์ทเนอร์ประจำกลุ่ม พร้อมรับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมโครงการ และการจัดแสดงผลงานการแข่งขันแก่สื่อมวลชนและผู้ที่สนใจในกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม


หัวข้อในการแข่งขันปี 2567

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ CHOICEISYOURS ในปี 2567 จะสามารถเลือกโจทย์การแข่งขันจากแต่ละองค์กรพาร์ทเนอร์จากทั้งหมด 6 โจทย์ภายใต้แนวคิดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)  โดยจะแบ่งการแข่งขันและการตัดสินออกเป็น 6 กลุ่มตามแต่ละโจทย์จากองค์กรพาร์ทเนอร์ ผู้ชนะในแต่ละกลุ่ม จะได้รับโอกาสในการเข้าฝึกงานกับองค์กรผู้ออกโจทย์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

หัวข้อในการแข่งขันปี 2566: CIRCULARITY FOR COMMUNITY

โครงการ CHOICEISYOURS ในปี 2566 มุ่งส่งเสริมแนวคิดด้านความยั่งยืนเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาของสังคมหรือชุมชน* โดยนักศึกษาจะต้องนำเสนอแนวคิดหรือโครงการที่มีการบูรณาการแนวคิดด้าน Circular Economy และสามารถนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้ในชุมชนนั้น ๆ ได้จริง รวมถึงสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมหรือชุมชนได้ในระยะยาว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 

หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หมายถึง การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากร ให้กลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสม เพื่อรักษาคุณค่าของทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรใหม่น้อยที่สุด ซึ่งสำหรับโครงการ CHOICEISYOURS ผลงานที่ผู้สมัครนำเสนอเข้ามาจะต้องแสดงถึงการประยุกต์ใช้แนวคิด Circular Economy และสามารถสร้างประโยชน์ด้านความยั่งยืนต่อแนวคิด พฤติกรรม หรือกระบวนการ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมหรือการใช้ชีวิตของสมาชิกชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ โดยมีแนวคิดหลัก 4 หัวข้อ ได้แก่
 

*ชุมชน หมายถึงกลุ่มคนที่มีวัตถุประสงค์ อุดมคติ หรือความเชื่อร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีการติดต่อสื่อสารกัน หรือมีการรวมกลุ่มกัน โดยไม่จำกัดว่าเป็นการรวมกลุ่มในทางกายภาพเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม

โจทย์ที่ 1
บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย



ปัญหาที่ต้องการแก้ไข

คลังอะไหล่ของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย มีการจัดเก็บและกระจายชิ้นส่วนรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู มินิ และมอเตอร์ไซค์บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราดให้แก่ผู้จำหน่ายทั่วประเทศสำหรับการซ่อมบำรุงรักษายานยนต์ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น ผ้าเบรก ตัวกรองอากาศ น้ำมันเครื่อง ฯลฯ โดยอะไหล่แต่ละชิ้น จะถูกแพ็คมาในกล่องกระดาษในขนาดต่าง ๆ ซึ่งในระยะเวลา 1 เดือน มีปริมาณกล่องกระดาษประมาณ 1,000 กิโลกรัมที่บีเอ็มดับเบิลยูจะส่งต่อให้ซัพพลายเออร์จัดการ

อ่านเพิ่มเติม

โจทย์การแข่งขัน

จากปริมาณกล่องกระดาษที่คลังอะไหล่ของบีเอ็มดับเบิลยู จะต้องจัดการในแต่ละเดือน ให้นักศึกษานำเสนอแนวคิดในการบริหารจัดการ ขยะกล่องกระดาษโดยใช้แนวคิด Circular Economy – Rethink/Reuse/Reduce/Recycle โดยสามารถเป็นแนวคิดที่ครอบคลุม ตั้งแต่การลดการใช้บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษตั้งแต่ต้นน้ำ (Rethink/Reduce) หรือการนำขยะกล่องกระดาษที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse/Recycle) โดยแนวทางที่นำเสนอจะต้องสามารถสร้างมูลค่า ให้แก่ขยะกล่องกระดาษได้มากกว่า 10 บาท/กิโลกรัม

อ่านเพิ่มเติม

โจทย์ที่ 2
บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)



ปัญหาที่ต้องการแก้ไข

การก่อสร้างอาคารของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น สร้างขยะก่อสร้างจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นขยะจากโครงการที่กำลังก่อสร้าง หรือขยะที่เกิดจากการรื้อถอน สำนักงานขาย (Sales Gallery) หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทฯ คือทำอย่างไรที่จะจัดการปริมาณขยะที่เกิดจากการก่อสร้างดังกล่าวให้มี
ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อสังคม

อ่านเพิ่มเติม

โจทย์การแข่งขัน

นำเสนอนวัตกรรมวิธีการจัดการขยะก่อสร้าง (Construction Waste) ให้กับโครงการย่านอารีย์ และสุขุมวิทเพื่อสร้างประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งในแง่ความเป็นอยู่ สุขภาพ หรือการสร้างรายได้ และเพื่อพัฒนาการ จัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืนให้กับองค์กร เช่น การรีไซเคิลวัสดุก่อสร้างเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำสำหรับโครงการในอนาคต

ตัวอย่างเศษขยะส่วนใหญ่ที่เกิดจากการก่อสร้างในโครงการ

  • เศษอิฐมวลเบา
  • เศษตะปู
  • เศษไม้แบบ + ไม้พาเลท + ไม้กั้นผนัง
  • เศษท่อ PVC
  • เศษฝ้า
  • เศษแท่งปูน
  • ใบเลื่อยใช้แล้ว
  • เศษเหล็กเส้น, เหล็กกล่อง
  • น๊อต+แหวน
  • ฉนวนท่อแอร์
อ่านเพิ่มเติม

โจทย์ที่ 3
บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)



ปัญหาที่ต้องการแก้ไข

บมจ. บางจากฯ ดำเนิน โครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” และ “ไม่ทอดซ้ำ”  เพื่อรณรงค์การเก็บรวบรวมน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วมาผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel: SAF เพื่อส่งเสริม Circular ECONOMY และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเริ่มรวบรวมน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากพันธมิตรผู้ประกอบการ เช่น ผู้ประกอบธุรกิจอาหารและเบเกอรี่ โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด ฯลฯ  บมจ. บางจากฯ จึงต้องการพัฒนารูปแบบธุรกิจการรับน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากภาคครัวเรือน/ชุมชน เพื่อมาเชื่อมต่อกับ โครงการทอดไม่ทิ้ง และรณรงค์การใช้น้ำมันพืชและการจัดการน้ำมันใช้แล้วอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม

โจทย์การแข่งขัน

เสริมสร้างชุมชนที่ยั่งยืนผ่านธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก : การรวบรวมน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน 
นำเสนอแนวทางในการรวบรวมน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากภาคครัวเรือน ธุรกิจขนาดเล็ก หรือชุมชน เพื่อนำมาส่งต่อให้บางจากผลิตเป็นเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม

โจทย์ที่ 4
มูลนิธิชัยพัฒนา และ กลุ่มเซ็นทรัล



ปัญหาที่ต้องการแก้ไข

มูลนิธิชัยพัฒนา ต้องการปรับรูปแบบ Re-design / Rebrand การดำเนินการโครงการศูนย์บริการวิชาการเกษตรของมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งตั้งอยู่ที่ ถนนเลียบคลอง 11 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี  ที่ปัจจุบันเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร ตามแนวพระราชดำริ ในส่วนของทฤษฎีใหม่ และเกษตรผสมผสาน และมีการจำหน่ายผัก ผลไม้ แบบเกษตรอินทรีย์ ได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) โดยจะปรับโครงการเป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยว และผนวกความรู้ ด้านเกษตรตามแนวพระราชดำริ มีบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพ การจำหน่ายต้นกล้าผัก ผลไม้  และไม้ดอกไม้ประดับ ให้ดูทันสมัย น่าสนใจมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

โจทย์การแข่งขัน

  1. นำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำเอาแนวความคิดเรื่อง Rethink/ Reuse/ Reduce/ Recycle  จัดทำ product design เพื่อใช้กับภาชนะบรรจุอาหาร ต้นไม้ หรือการนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อลดขยะ เพื่อสร้างมูลค่าต่อยอดสินค้าให้น่าสนใจ และมีความทันสมัย  สามารถต่อยอดวางจำหน่ายที่ร้าน Good Goods สาขาเซ็นทรัลเวิล์ด ได้​
  2. ออกแบบด้าน Sign Design เกี่ยวกับพืชผัก ผลไม้ ทั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ในโครงการให้มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับ การรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักถึงการลดปริมาณขยะ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

อ่านเพิ่มเติม

ข้อมูล / รูปภาพประกอบเพิ่มเติม


โจทย์ที่ 5
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)



ปัญหาที่ต้องการแก้ไข

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรงมากขึ้น และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ที่มาพร้อมกับของเสียที่เพิ่มมากขึ้นและได้รับการจัดการอย่างไม่ถูกวิธี นำไปสู่วิกฤตสภาพภูมิอากาศ เอสซีจี จึงมุ่งเน้นและให้ความสำคัญ โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)  ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยลดการนำทรัพยากรธรรมชาติใหม่มาใช้ และเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ที่ไม่มีประโยชน์ ให้สามารถนำกลับมาเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าได้อีก

อ่านเพิ่มเติม

โจทย์การแข่งขัน

ให้นักศึกษาใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิด Regenerative ที่เน้นการสร้างคุณค่าอย่างเกื้อกูลกันทั้งระบบแบบองค์รวม เพื่อนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานมาแล้วหรือวัสดุเหลือใช้ (Waste) มาใช้แทนวัตถุดิบจากธรรมชาติ ในการผลิตวัสดุผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง หรือบรรจุภัณฑ์สินค้า

อ่านเพิ่มเติม

ข้อมูล / รูปภาพประกอบเพิ่มเติม

ตัวอย่างวัสดุที่ผ่านการใช้งานมาแล้วหรือวัสดุเหลือใช้ (Waste) ที่สามารถนำมาเป็นวัสดุทดแทนวัตถุดิบจากธรรมชาติในการผลิต เช่น
 

  • ใช้ขวดแก้วรีไซเคิล ทดแทนทรายจากธรรมชาติ ในการผลิตฉนวนกันความร้อน 
  • ใช้เศษดิน เศษเซรามิค ทดแทนดินเหนียว ในการผลิตกระเบื้องปูพื้น 
  • ใช้เศษเถ้าลอย และเศษกระเบื้องหลังคา ทดแทนหินปูน ในการผลิตหลังคาคอนกรีต 
  • นำตะกอนดินจากการผลิตกระเบื้องไปผลิตเป็น แก้วกาแฟ และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ชุมชนด่านเกวียน
  • นำตะกอนดินจากการผลิตสุขภัณฑ์ไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตถ้วยชามเซรามิค

 

อ่านเพิ่มเติม

โจทย์ที่ 6
ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย



ปัญหาที่ต้องการแก้ไข

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงมากขึ้น การแก้ปัญหาด้วยวิธีเดิมๆอาจจะไม่ทันกับผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องของโลกร้อนที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปีนี้ ผลกระทบจากมลภาวะทั้งทางบก ทางน้ำ และอากาศ ที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ไมโครซอฟท์เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาร่วมส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยลดการใช้ทรัพยากร สร้างคุณค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ และหมุนเวียนทรัพยากรและของเสียกลับใช้ใหม่ในธุรกิจต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม

โจทย์การแข่งขัน

ให้นักศึกษาประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Generative AI หรือ AI ขั้นสูงที่สามารถเรียนรู้เชิงลึกจากชุดข้อมูลที่มีอยู่ และใช้องค์ความรู้เหล่านั้นมาสร้างผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่มนุษย์ต้องการได้ โดยนักศึกษาจะต้องนำเทคโนโลยี Generative AI นี้มาประยุกต์ใช้ในการช่วยลดการใช้ทรัพยากร หรือจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เชิงบวกได้รวดเร็วขึ้น ง่ายดายยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิผล ทั้งยังช่วยขยายแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งกว่าเดิม

อ่านเพิ่มเติม

ข้อมูล / รูปภาพประกอบเพิ่มเติม

การนำเทคโนโลยีมาใช้อาจจะเป็นในรูปแบบการเพิ่ม productivity หรือ การทำ Process Automation เพื่อให้เกิด Circular Economy ในวงกว้าง
 

อ่านเพิ่มเติม

คำจำกัดความ

หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หมายถึง การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากร ให้กลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสม เพื่อรักษาคุณค่าของทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรใหม่น้อยที่สุด ซึ่งสำหรับโครงการ CHOICEISYOURS ผลงานที่ผู้สมัครนำเสนอเข้ามาจะต้องแสดงถึงการประยุกต์ใช้แนวคิด Circular Economy และสามารถสร้างประโยชน์ด้านความยั่งยืนต่อแนวคิด พฤติกรรม หรือกระบวนการ โดยมีแนวคิดหลัก 4 หัวข้อ ได้แก่

อ่านเพิ่มเติม

แนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมุ่งเน้นแนวคิด “ลดเพื่อเพิ่ม” ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้วัสดุหรือทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง หรือการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จะสามารถลดการสร้างขยะ มลพิษ และของเสียต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น เช่น แนวคิดการกำจัดขยะโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (zero-waste-to-landfill) และความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon-neutral)

อ่านเพิ่มเติม

การนำทรัพยากรที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด เพื่อรักษาทรัพยากรให้คงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เช่น การยืดอายุวงจรผลิตภัณฑ์ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ผ่านการ ใช้ซ้ำ หรือการนำทรัพยากรท้องถิ่นมาออกแบบและใช้งานใหม่โดยที่ยังคงคุณค่าเดิมของทรัพยากรไว้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด

อ่านเพิ่มเติม

การนำเทคโนโลยีมาผสมผสาน ปรับเปลี่ยน หรือสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ ที่เสริมสร้างความยั่งยืน สร้างความรู้ความเข้าใจด้านผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าในระดับบุคคล องค์กร หรือสังคมในภาพรวม

อ่านเพิ่มเติม

การนำทรัพยากรที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด เพื่อรักษาทรัพยากรให้คงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เช่น การยืดอายุวงจรผลิตภัณฑ์ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ผ่านการ ใช้ซ้ำ หรือการนำทรัพยากรท้องถิ่นมาออกแบบและใช้งานใหม่โดยที่ยังคงคุณค่าเดิมของทรัพยากรไว้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด

อ่านเพิ่มเติม

หัวข้อในการแข่งขัน

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกหัวข้อในการสมัครและนำเสนอผลงาน 1 หัวข้อ จากทั้งหมด 4 หัวข้อ โดยในแต่ละหัวข้อ ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก จะได้รับการอบรมและร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปกับองค์กรที่รับผิดชอบแต่ละหัวข้อก่อนเข้าสู่การแข่งขันรอบถัดไป

 

ผลงานที่ผู้สมัครนำเสนอเข้ามาจะต้องสามารถสร้างประโยชน์ด้านความยั่งยืนต่อแนวคิด พฤติกรรม หรือกระบวนการ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคและสังคมโดยรวม โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของแต่ละบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

คุณสมบัติของผู้สมัครและข้อกำหนดในการรับสมัคร

  • 01 เปิดรับสมัครทีมแข่งขันโดย 1 ทีมประกอบด้วยสมาชิก 2 คนโดยไม่จำเป็นต้องมาจากสถาบันการศึกษาเดียวกัน
  • 02 ผู้สมัครต้องมีสถานะเป็นนักศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ในประเทศไทยในวันสุดท้ายของการปิดรับสมัคร โดยแนบสำเนาบัตรนักศึกษาที่ออกให้โดยสถาบันการศึกษาเป็นหลักฐานยืนยัน ซึ่งรวมถึงนักศึกษานานาชาติ นักศึกษาแลกเปลี่ยน นักศึกษาฝึกงาน และมีเงื่อนไขว่าผู้สมัครต้องสามารถมาเข้าร่วมการแข่งขันด้วยตนเองในรอบสุดท้ายในวันที่กำหนดหลังจากผ่านการเข้ารอบสุดท้าย และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการเดินทางจนสิ้นสุดการแข่งขัน
  • 03 ไม่จำกัดสัญชาติ มีอายุระหว่าง 18 ถึง 26 ปีบริบูรณ์ในวันสุดท้ายของการปิดรับสมัคร
  • 04 ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องไม่มีสายสัมพันธ์ทางครอบครัว (พี่ น้อง บุตร) กับคณะกรรมการตัดสิน หรือคณะกรรมการจัดงานทุกฝ่าย

REduce โดย บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย

แนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมุ่งเน้นแนวคิด “ลดเพื่อเพิ่ม” ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้วัสดุหรือทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง หรือการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จะสามารถลดการสร้างขยะ มลพิษ และของเสียต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น

REuse โดย มูลนิธิชัยพัฒนา

การนำทรัพยากรที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด เพื่อรักษาทรัพยากรให้คงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เช่น การยืดอายุวงจรผลิตภัณฑ์ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ โดยการใช้ซ้ำ หรือการนำทรัพยากรท้องถิ่น มมาาออกแบบและใช้งานใหม่โดยที่ยังคงคุณค่าเดิมของทรัพยากรไว้ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด

REthink โดย ไมโครซอฟท์

การนำเทคโนโลยีมาผสมผสาน ปรับเปลี่ยน หรือสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ ที่เสริมสร้างความยั่งยืน สร้างความรู้ความเข้าใจด้านผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าในระดับบุคคล องค์กร หรือสังคมในภาพรวม

REcycle โดย เอสซีจี

การนำทรัพยากรที่ใช้งานแล้วมาผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่ โดยหัวใจสำคัญของการ Recycle ที่แตกต่างจากการ Reuse คือ เป็นการจัดการของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ หรือปรับปรุงคุณภาพ ให้กลับมามีคุณภาพเทียบเท่าหรือใกล้เคียงของเดิม หรือให้ได้วัตถุดิบใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่อาจเปลี่ยนจุดประสงค์ในการใช้งาน เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ทรัพยากร และสร้างการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างยั่งยืน

  1. กรอกข้อมูลการสมัครในแบบฟอร์ม

  2. นำเสนอแนวคิดโครงการตามหัวข้อที่เลือกสมัคร โดยจะต้องระบุรายละเอียดโครงการ จุดประสงค์ ปัญหาที่ต้องการแก้ไข แนวทางการแก้ปัญหา แผนการทดลอง และผลลัพธ์ที่คาดหวังโดยสังเขป ความยาวไม่เกิน 200 คำ

  3. วีดีโอแนะนำทีมและนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับโครงการ พร้อมแผนการทดลองโดยสังเขป โดยผู้สมัครจะต้องอัปโหลดวีดีโอลง YouTube จากนั้นนำลิ้งค์มากรอกในแบบฟอร์มนี้ วีดีโอจะต้องมีความยาวไม่เกิน 2 นาที ในภาษาไทยหรืออังกฤษ

  4. คณะกรรมการสามารถเรียกดูสำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา หรือหลักฐานยืนยันจากสถาบันศึกษาต้นสังกัด จากผู้เข้าแข่งขันได้ตลอดระยะเวลาการแข่งขัน

อ่านเพิ่มเติม

กิจกรรมระหว่างการแข่งขัน

  • Mentoring Session หลังจากการประกาศ 60 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว จะมีการมอบหมายพี่เลี้ยง (Mentor) จากแต่ละองค์กร เพื่อให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้เข้าร่วมแข่งขันตลอดโครงการ โดยแบ่งออกเป็น 10 ทีมต่อ 1 โจทย์ ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีการนัดหมายเพื่อพูดคุยและให้คำปรึกษาแก่ทีมในสังกัดอย่างต่อเนื่องตลอดการแข่งขัน

  • Site Visit กิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการนำแนวคิดด้านความยั่งยืนไปปฏิบัติใช้ในองค์กรต่าง ๆ หรือในชุมชนตัวอย่างที่มีความโดดเด่นด้านความยั่งยืน เช่น การศึกษาการจัดการขยะ ณ โรงงานของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย พร้อมเยี่ยมชมสายการประกอบรถยนต์ การศึกษาแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ชุมชนต้นแบบภายใต้การสนับสนุนของเอสซีจี

  • กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การอบรมเกี่ยวกับ SDG, เวิร์คช็อป Design thinking, การอบรมด้านเทคโนโลยีกับไมโครซอฟท์

อ่านเพิ่มเติม

รอบการแข่งขัน

การแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 3 รอบ ได้แก่

รอบคัดเลือก (Qualifying Round)

คัดเลือก 60 ทีม จากผู้สมัครทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 10 ทีมจากผู้สมัครในแต่ละโจทย์ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน โดยจะทำการคัดเลือกจากแนวคิดโครงการและคลิปวีดีโอของผู้สมัครแต่ละทีม  

รอบรองชนะเลิศ (Semi-Final Round)

คัดเลือก 3 ทีม จาก 10 ทีมในแต่ละโจทย์ รวมทั้งหมด 18 ทีม เพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการ โดยมีเวลาทีมละ 10 นาที และอีก 10 นาทีสำหรับช่วงถาม-ตอบกับคณะกรรมการตัดสิน

 

รอบชิงชนะเลิศ (Final Round)

เฟ้าหาทีมชนะเลิศเพียง 1 ทีมที่ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละโจทย์ที่จะได้รับโอกาสฝึกงานกับองค์กรประจำกลุ่ม โดยสำหรับการแข่งขันในรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการ โดยมีเวลาทีมละ 5 นาที และอีก 10 นาทีสำหรับช่วงถาม-ตอบกับคณะกรรมการตัดสิน 

 

 

เกณฑ์การตัดสิน

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินการแข่งขันทั้ง 3 รอบ จะอยู่ภายใต้เกณฑ์หลัก 5 หัวข้อ ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม
  • การประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับ Circular Economy (40 คะแนน)
  • การนำแนวคิดไปใช้ได้จริง (30 คะแนน)
  • การทดลอง (15 คะแนน)
  • แนวความคิดสร้างสรรค์ (15 คะแนน)
  • คะแนนพิเศษ (10 คะแนน)

รางวัลในการแข่งขัน

ทีมผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนสูงสุด 6 ทีมจากแต่ละโจทย์ จะได้รับโอกาสในการฝึกงานกับองค์กรพาร์ทเนอร์ผู้ออกโจทย์ ได้แก่
 

พาร์ทเนอร์ทั้ง 6 องค์กรที่เปิดโอกาสให้ทีมที่ได้คะแนนสูงสุด 6 อันดับเลือกฝึกงาน ได้แก่

  1. บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย
  2. ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย
  3. เอสซีจี
  4. เซ็นทรัล กรุ๊ป และมูลนิธิชัยพัฒนา
  5. โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์
  6. บางจาก คอร์ปอเรชั่น 

สำหรับทุกทีมผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านรอบคัดเลือกและร่วมกิจกรรมการแข่งขันจนจบโครงการ จะได้รับใบประกาศรับรองการเข้าร่วมแข่งขันจากทั้ง 7 องค์กร

 

อ่านเพิ่มเติม

กำหนดการการแข่งขัน

รายละเอียด
กำหนดการ*

*กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

  • Mentoring Session หลังจากการประกาศ 30 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว จะมีการมอบหมายพี่เลี้ยง (Mentor) จากแต่ละองค์กร เพื่อให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้เข้าร่วมแข่งขันตลอดโครงการ โดยแบ่งออกเป็น 5 ทีมต่อ 1 องค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีการนัดหมายเพื่อพูดคุยและให้คำปรึกษาแก่ทีมในสังกัดอย่างต่อเนื่องตลอดการแข่งขัน
  • Site Visit กิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการนำแนวคิดด้านความยั่งยืนไปปฏิบัติใช้ในองค์กรต่าง ๆ หรือในชุมชนตัวอย่างที่มีความโดดเด่นด้านความยั่งยืน เช่น การศึกษาการจัดการขยะ ณ โรงงานของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย พร้อมเยี่ยมชมสายการประกอบรถยนต์ การศึกษาแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ชุมชนต้นแบบภายใต้การสนับสนุนของเอสซีจี
  • กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การอบรมเกี่ยวกับ SDG, เวิร์คช็อป Design thinking, การอบรมด้านเทคโนโลยีกับไมโครซอฟท์
อ่านเพิ่มเติม
คณะกรรมการตัดสินและน้ำหนักการตัดสิน

เงื่อนไข/ข้อตกลง

  1. ทีมผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างสรรค์ผลงานขึ้นใหม่ด้วยตนเอง โดยต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น หรือไม่ส่งผลงานของผู้อื่นเพื่อใช้สำหรับการแข่งขันครั้งนี้ หากมีการนำทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นมาใช้ประกอบ เช่น รูปภาพ เนื้อหา บทความ ผลงานวิจัย ขอให้ระบุการอ้างอิงที่ชัดเจนและถูกต้อง หากทีมผู้เข้าแข่งขันฝ่าฝืนไม่กระทำตามที่ระบุข้างต้น จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิง อาทิ ความเสียหายต่อบุคคลภายนอก ค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมและค่าทนายความ
  2. ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันในวัน เวลา ตามที่ผู้จัดกำหนด
  3. ผลงานของทีมที่เข้าแข่งขันยังคงเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันยินยอมให้ผู้จัดงานใช้ลิขสิทธิ์ในผลงานต้นแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นจากการแข่งขันในครั้งนี้ รวมถึงไฟล์ต้นฉบับทั้งหมด ตลอดจนสิทธิอื่นใดในผลงานดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในการแข่งขันในสื่อต่าง ๆ เช่น ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ หรือการใช้งานอื่น ๆ​ ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา​และวิจัยพัฒนา​ และเผยแพร่ชื่อเสียง
  4. ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่า ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขันมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด หรือไม่ดำเนินการตามเงื่อนไขข้างต้น ผู้จัดงานสามารถตัดสิทธิ์หรือเพิกถอนผลการตัดสิน และเรียกคืนรางวัล/ใบประกาศรับรองการแข่งขันทั้งหมดได้
  5. ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขัน ยอมรับว่าการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด และยินดียอมรับผลการตัดสิน รวมถึงกฎเกณฑ์และเงื่อนไขการตัดสินทุกประการ
  6. ผลงานที่ร่วมกิจกรรมต้องเป็นผลงานที่ผู้เข้าแข่งขันสร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยไม่เคยชนะการประกวดในเวทีหรือรายการอื่นใดมาก่อน
อ่านเพิ่มเติม